9. Cheerleader
“Cheerful Heart of Empathy to Echo Relationship Leading Everyone to
Absolute Delight of Eternal Reputation” หรือแปลเป็นไทยว่า "ด้วย สีสันผันผ่านเป็นการแทนใจ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกห่วงใยสู่ไมตรีจิตอันยิ่งใหญ่ ฝากไว้ในใจทุกคน เพื่อความสุขสมหวังดังปรารถนา เพื่อชื่อเสียงและเกียรติยศที่ได้มา ด้วยเวลา หยาดเหงื่อและความตั้งใจจริงที่คง” นี่คือนิยามของความเป็นเชียร์ลีดเดอร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะยังคงอยู่ตราบนานเท่านาน
เชียร์ลีดเดอร์ (cheerleader) หรือ ผู้นำเชียร์ คือผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำฝูงชนให้มีความฮึกเหิม โห่ร้อง ตะโกน ร้องเพลง ให้กำลังใจ เชียร์นักกีฬาที่กำลังทำการแข่งขัน เพื่อให้นักกีฬามีกำลังใจสู้ในการแข่งขัน ในประเทศไทยเน้นการให้จังหวะ รหัส สัญญาณ ให้กองเชียร์ร้องเพลง พร้อมเพรียง เสียงดัง และ เกิดความสนุกนานในการชมการแข่งขัน
ส่วนเชียร์ลีดเดอร์ในบางประเทศถือเป็นนักกีฬาเช่นกัน เรียกว่ากีฬา เชียร์ลีดดิง (cheerleading) ซึ่งประกอบไปด้วยหลายแขนง ประกอบไปด้วย การต่อตัว การเชียร์ประกอบท่าท่างหรือที่เรียกว่าเชียร์และแชนท์ ยิมนาสติก การทำงานร่วมกันเป็นทีม การเต้น เป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ความตื่นเต้น เนื่องจากทั้งหมดนี้มีการใช้ดนตรีเข้ามาประกอบจังหวะ ซึ่งประวัติศาสตร์ของกีฬาประเภทนี้มีมายาวนานแล้ว และปัจจุบันทุกประเทศเริ่มให้ความสนใจกีฬาประเภทนี้กันมากขึ้น
ประวัติของเชียร์ลีดเดอร์
กีฬาเชียร์ลีดเดอร์เริ่มแรกเมื่อ พ.ศ. 2441 ที่ มหาวิทยาลัยมินนิโซตา เริ่มจากการนั่งดูเกมส์การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล และจากนั้นก็เริ่มมีผู้คนออกมาตะโกนร้องเชียร์ไปเรื่อย ๆ แล้วแต่ละโรงเรียนก็เริ่มออกมาเชียร์กันมากมาย
จากนั้นก็มีผู้ชายคนหนึ่งออกไปที่ข้างหน้าสนาม ยืนต่อหน้าฝูงชนแล้วก็เริ่มตะโกนร้องว่า "Rah, Rah, Rah! Sku-u-mar, Hoo-Rah! Hoo-Rah! Varsity! Varsity! Varsity, Minn-e-So-Tah!" การกระทำของเป็นที่สนใจของคนดูเป็นอย่างมาก และทุกคนก็ตะโกนร้องเชียร์อย่างเต็มที่ไปกับเขาด้วย ผู้ชายคนนี้คือ Johnny Campbell และเขาก็กลายเป็นหนึ่งในเชียร์ลีดเดอร์คนแรกของโลก
ชมรม Pep Club ถือกำเนิดขึ้นมาครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2423 ที่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เมื่อ Thomas Peebler ได้นำชายหกคนไปนำเชียร์ข้างสนาม การเชียร์ของเขาคือ "Ray, Ray, Ray! TIGER, TIGER, TIGER, SIS, SIS, SIS! BOOM, BOOM, BOOM! Aaaaah! PRINCETON, PRINCETON, PRINCETON!" และก็ได้ยินเรื่อยมาตลอดการแข่งขันฟุตบอล
การตะโกนของ Peebler ได้ย้ายมาที่มหาวิทยาลัยแห่งมินเนโซตา ตามเจ้าตัวในปี พ.ศ. 2441 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ Johny Campbell ได้กระโดดออกไปยืนหน้าผู้คนและเริ่มการเชียร์ของเขาเอง ซึ่งมันก็คือที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เองที่เป็นที่เริ่มต้นกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง (Cheerleading) ให้เป็นรูปเป็นร่าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเชียร์ลีดเดอร์ก็ทำการเชียร์สนับสนุนทีมกีฬาอื่น ๆ เรื่อยมา
จะด้วยเหตุผลเดียวอันนี้หรือว่าอย่างอื่นด้วยไม่ทราบ บางโรงเรียนหรือว่าบางองค์กรขาดสปิริต อย่างเช่นงานชุมนุมบางงาน ครูจากฝ่ายพละชอบทำเสียงต่ำๆ พึมพัมๆ น่าเบื่ออยู่ในลำคอชวนพาท่านให้ผู้ชมง่วงนอน รวมไปถึงทีมกีฬาที่ดูน่าเบื่อตั้งแต่ถูกแนะนำตัวก่อนที่ลงเล่นแล้ว ไม่มีวงดนตรี ไม่มีการเอนเตอร์เทน ไม่มีการเชียร์...ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเกิดขึ้นมาเลย เชียร์ลีดดิ้ง (Cheerleading) สามารถที่จะเพิ่มสปิริตเข้าไปในงานนั้นๆได้อย่างมากมาย การจัดการทีมอาจจะใช้เวลาแค่เพียงนิดเดียวแต่ว่าจะก็ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก และยาวนาน แต่ว่าเพียงแค่การแสดงเพียงครั้งเดียวของเชียร์ลีดเดอร์นั้นก็สามารถที่จะ เพิ่มความน่าสนใจเข้าไปในงานชุมนุมและเกมส์กีฬาได้อย่างดี และเป็นความจริงที่ว่าทีมเชียร์มักจะทำอะไรที่แตกต่างขึ้นในโรงเรียน อย่างเช่นว่า ลายพิมพ์เท่ห์ๆ บนเสื้อที่เขียนว่า "ขาดเชียร์ลีดเดอร์ มันก็เป็นแค่เกมส์ธรรมดา" คนส่วนใหญ่ที่มางานกีฬาก็เพื่อที่จะชมเกมส์ บางคนก็จะมาเพื่อเอนเตอร์เทนและสร้างความน่าตื่นเต้นน่าสนใจให้กับงาน เมื่อคุณทราบอย่างนี้แล้ว งานที่ปราศจากการเอนเตอร์เทนเมนท์และไม่รวมเอาคนดูเข้าไปด้วย งานแข่งกีฬาก็มักอาจจะออกมาแบบจืดชืดเสมอ
ในญี่ปุ่นมีกลุ่มที่ทำหน้าที่นำกองเชียร์อยู่สองกลุ่ม คือ โอเอ็นดัน หรือ กลุ่มนำเชียร์ กับกลุ่มเชียร์ลีดเดอร์แบบในอเมริกา แรกเริ่มเป็นการรับอิทธิพลเข้ามาพร้อมกับกีฬาจากประเทศทางตะวันตก ในช่วงสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868-1921) และหลังจากนั้นจากช่วงปี ค.ศ. 1890 เริ่มเกิดมีกลุ่มนำเชียร์ แต่งตัวเครื่องแบบนักเรียน นำเชียร์ด้วยการร้องตะโกนเพลง เชียร์ประกอบกับการตีกลอง โบกธงประจำสถาบัน ทำหน้าที่กระตุ้นให้กำลังใจในการแข่งขันกีฬา
อีกด้านหนึ่ง กล่าวกันว่าเริ่มจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการจัดตั้งกลุ่มคนขึ้นเพื่อร้องเพลงปลุกขวัญให้กำลังใจสำหรับนักบินกา มิกาเซ ซึ่งจะต้องนำเครื่องบินบรรทุกระเบิดบินพุ่งชนศัตรูแล้วเสียชีวิต จากนั้นได้กลายมาเป็นลักษณะการนำเชียร์ปลุกใจนักกีฬา โดยจะนำให้กองเชียร์เคาะจังหวะ สัญญาณ ตะโกนเชียร์พร้อม ๆ กัน โดยลักษณะท่าทางการนำเชียร์จะนำมาจากการแสดงคาบุกิอันเป็นศิลปะการแสดงดั้ง เดิมของญี่ปุ่น ประกอบกับท่าทางของกีฬาซูโม่. กีฬาที่นิยมใช้ทีมโอเอ็นดัน ได้แก่ เบสบอล และแข่งพายเรือ ส่วนเชียร์ลีดเดอร์เป็นการรับเข้ามาจากอเมริกาประมาณ ค.ศ. 1987 โดยยึดรูปแบบตามอเมริกา และมีการจัดการแข่งขันขึ้นมาเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันการเชียร์ในญี่ปุ่นจะเป็นการร่วมกัน ระหว่างสองชมรม คือ โอเอ็นดัน และ เชียร์ลีดเดอร์แบบอเมริกา
เป็นปรากฎการใหม่ของเลโก้ที่มีการนำ Minifig แหลกๆเข้ามาซึ่งอาจเข้ามาพร้อมธีมกีฬา ทั้งฟุตบอลและบาสเก็ตบอลที่เคยออกมาแล้ว
แต่แอบสงสัยนิดนึงคนออกแบบนี่ แอบเชียร์ทีม dallascowboys อยู่หรือไม่
ปล.Minifig อันนี้ไม่กล้าลงรูปวาบหวามมากกลัวโดนท่านเวปมาสเตอร์หรือแอดมิน Ban เลยหารูปที่คล้ายๆ Minifig มาลง
ซึ่งดูจากชุดแล้วคล้ายเชียร์รีดเดอร์ของ dallascowboys มากๆแค่ขาดตัว M ที่เสื้อ
เปิดซองมาจะพบว่ามีชิ้นส่วนทั้งหมด 6 ชิ้นด้วยกันนะครับ
1.หัวของ Minifig ของ Cheerleader
2.ตัวของ Minifig ของ Cheerleader
3.ส่วนขา Minifig ของ Cheerleader
4.ผมยาวสีทอง
5.พู่แบบน้ำเงินสลับขาว 2 อัน
6.ฐานรองสีดำ
ตามรูปเลยครับ
ด้านหน้า
ด้านหลัง
ด้านข้าง
10. Nurse ในที่สุดก็มาถึงนางฟ้าในชุดสีขาวแล้วนะครับใครหลายคนคงอยากมีเลโก้นางนี้เป็นของสะสม
พยาบาล (อาจเรียกว่า นางพยาบาล หรือ บุรุษพยาบาล) เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย พยาบาลพบได้ทั่วไปทำงานตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ก่อนจะปฏิบัติงานจะต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนความรู้ จากสภาการพยาบาลก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยาบาลสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่ได้เรียนมา เป็นเวลา 4 ปีสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลมีมากมายในประเทศไทยทั้งที่สังกัดกระทรวง สาธารณสุขและเอกชน
พยาบาลในปัจจุบันมักจะสวมชุดพยาบาลที่เป็นสีขาว หรือมีสีขาว และสวมหมวกที่มีลักษณะเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม พยาบาลในบางประเทศ หรือในบางวัฒนธรรมอาจใช้ชุดพยาบาลสีอื่น ๆ
การพยาบาล (ภาษาอังกฤษ: nursing) ตามความหมายที่ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ให้ไว้ หมายถึง กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่จะต่อสู้การรุกรานของโรคได้อย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับความหมายของการพยาบาลที่เสนอโดย เวอร์จิเนีย เฮนเดอร์สัน ได้แก่ การพยาบาลคือการช่วยเหลือบุคคล (ทั้งยามปกติและยามป่วยไข้) ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือส่งเสริมการหายจากโรค (หรือแม้กระทั่งการช่วยให้บุคคลได้ไปสู่ความตายอย่างสงบ) ซึ่งบุคคลอาจจะปฏิบัติได้เองในสภาวะที่มีกำลังกาย กำลังใจ และความรู้เพียงพอ และเป็นการกระทำที่จะช่วยให้บุคคลกลับเข้าสู่สภาวะที่ช่วยตนเองได้โดยไม่ ต้องรับการช่วยเหลือนั้น โดยเร็วที่สุด
กิจกรรมสำคัญของการพยาบาลได้แก่
รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้
1. การดูแลให้ความสุขสบาย (care and comfort) ช่วยเหลือบุคคลให้สามารถจัดการกับปัญหาทางสุขภาพและการเจ็บป่วย (health illness continuum) ได้ด้วยตนเอง หน้าที่ของพยาบาลจึงมุ่งที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาล เพื่อให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (assesment and diagnosis)
2. ให้คำแนะนำ คำสอนด้านสุขภาพ (health teaching) เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพอันดีและส่งเสริมผลการรักษา มุ่งด้านการดูแลตนเอง (self care) ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของสมาชิกในครอบครัว
3. ให้คำปรึกษา (counselling) ด้านสุขภาพอนามัยทั้งในภาวะปกติ และขณะที่มีภาวะกดดัน อันเป็นเหตุให้สุขภาพเบี่ยงเบนไปจากปกติ
4. ให้การดูแลด้านสรีรจิตสังคม (physiopsychosocial intervention) โดยการใช้วิธีการพยาบาลการปฏิบัติ
การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านบริการสุขภาพของประชาชน และตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เมลลิส (melis 1997:13) ให้ความหมายทฤษฎีว่า เป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory) เปรียบเสมือนเป็นการสรุปทางความคิดเกี่ยวกับข้อความจริงทางการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณาปรากฏการณ์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ ทำนายผลที่จะเกิดขึ้น หรือ การควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาล
ฟอว์เซท (fawcett 1989) ให้นิยามโดยเน้นที่ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล (nursing phenomena) โดยนิยามว่า ทฤษฎีการพยาบาลประกอบด้วยมโนทัศน์ และข้อสันนิษฐาน (proposition) ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าแบบจำลองความคิด ทฤษฎีการพยาบาลจะกล่าวถึงบุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล และระบุความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทั้ง 4 ดังกล่าว
จากนิยามดังกล่าว ทฤษฎีการพยาบาลจึงเป็นข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทางการพยาบาล ที่พรรณา อธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ปล.ไม่ค่อยกล้าลงรูปคนเลยกลัวติดเรทแล้วจะโดนท่านเวปมาสเตอร์แบน
เปิดซองมาจะพบว่ามีชิ้นส่วนทั้งหมด 7 ชิ้นด้วยกันนะครับ
1.หัวของ Minifig ของ Nurse
2.ตัวของ Minifig ของ Nurse
3.ส่วนขา Minifig ของ Nurse
4.ผมสีน้ำตาล
5.เข็มฉีดยา 2 อัน
6.กระดานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
7.ฐานรองสีดำ
ตามรูปเลยครับ
ด้านหน้า
ด้านหลัง
ด้านข้าง
11. Zombieeeeee
ซอมบี้หรือเรียกว่า"ซัมบิ" (zumbi) ..เชื่อกันว่า ซอมบีเป็นศพที่เดินได้ เนื่องจากเป็นร่างไร้วิญญาณที่ถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ด้วยอำนาจเวทมนตร์ของนักบวชในลัทธิวูดู ลักษณะการเดินของซอมบิดูคล้ายหุ่นยนต์ที่ไร้วิญญาณ ปราศจากแววตา และจะทำตามคำสั่งของนักบวช
ซอมบี้นั้นในภาษาพื้นเมืองไฮติเขา เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "โบโกร์" (Bokor).. ซอมบี้เป็นทาสผีดิบของหมอผี หรือผู้ทรงไสยดำ ผู้ที่มีอำนาจ (เชื่อว่าเป็นอำนาจจากนรก) เรียกเอาคนตายกลับขึ้นมาจากหลุมศพ..ซอมบี้เป็นเพียงศพที่เดินได้มันกินอาหาร ได้ อาหารที่กินเป็นอาหารพิเศษที่หมอผีจัดหามาให้ มันมีลมหายใจคล้ายคน มันต้องขับถ่าย มันพูดได้ แต่ส่วนมาไม่ได้พูดภาษาคน และมันสามารถได้ยินเสียงหรือรับรู้คำสั่งของหมอผีได้แสดงว่ามันมีชีวิต แต่มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปราศจากความทรงจำใด ๆ ทั้งสิ้น มันไม่รู้จักชีวิตของตัวมันเอง มันไม่มีความรำลึกของอดีตใด ๆ เกี่ยวกับตัวมันเอง มันไม่เคยเข้าใจสภาพ หรือสถานภาพใด ๆ เกี่ยวกับตัวมันเอง มันไม่รู้จักความเจ็บปวดหรือความกลัว..พูดง่าย ๆ ซอมบี้ เป็นเสมือนหุ่นยนต์ที่มีเลือดเนื้อ เหมือนเครื่องจักรชีวอย่างไงอย่างนั้นนั่นเอง
ชนเผ่าชาไฮติแทบทุกคน รู้จักความชั่วร้ายแห่งไสยดำวูดูเป็นอย่างดี และพวกเขาก็รู้จักซอมบี้ว่ามันมีจริง มันเป็นศพคืนชีพ ทาสรับใช้ของหมอผีหรือผู้มีอำนาจทางไสยดำวูดู พวกชาวบ้านธรรมดาจะสามารถแยกซอมบี้ออกจากหมู่คนธรรมดาได้ทันทีที่ได้เห็น
กล่าว กันว่า พวกซอมบี้มักจะมีท่าทางการเดินเหินไม่เหมือนคนธรรมดา การเดินของซอมบี้จะโยกเยกตัวไปมามากกว่าคนธรรมดา คล้ายกับว่ามันเป็นเครื่องจักรกลที่เดินได้ มันมีสายตาที่เหม่อลอย ดวงตา ที่ปราศจากแวดของชีวิต และยังกล่าวกันว่า ซอมบี้มีเสียงหายใจที่ดัง และมีจังหวะการสูดลมหายใจเข้าออกข้าเร็วต่างกับคนธรรมดา
ชาวบ้านธรรม ดาในไฮติโดยทั่วไปไม่มีใครกลัวซอมบี้ เพราะไม่เคยปรากฏว่า ซอมบี้ทำอันตรายได้เลย แต่ก็ไม่มีใครกล้ายุ่งเกี่ยวข้องกับซอมบี้ ถ้าเผอิญ ไปเจอมันเข้า สิ่งที่พวกเข้าทุกคนกลัวที่สุดไม่ใช่ซอมบี้ แต่พวกเขากลัวเป็นซอมบี้ กลัวว่าญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงคนที่รู้จัก และตัวเองเมื่อตายไปแล้วจะกลายเป็นซอมบี้ พวกเขาไม่กล้ารับหน้าหรือให้การต้อนรับซอมบี้ผู้มาเยือน ไม่ว่าซอมบี้นั้นจะเคยเป็นพ่อ แม่ พี่น้อง หรือ ใครที่เคยรู้จักสนิทสนมด้วยในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
ในการทำพิธีฝังศพญาติพี่น้องของตน ชาวไฮติมีพิธีกรรมที่เรียกว่า "ทำให้ตายครั้งที่สอง" เพื่อป้องกันมิให้ศพกลับลุกขึ้นมาเป็นซอมบี้
แม้ แต่คนที่ยากจนไม่มีเงินจะทำพิธีศพญาติของตน ยังต้องไปนำก้อนหินขนาดใหญ่ ๆ มาทับหลุมฝังศพเพื่อป้องกันมิให้ศพญาติที่ฝังไว้ลุกกลับขึ้นมา
บาง ครั้งญาติผู้ตายต้องผลัดกันนั่งเฝ้าอยู่ปากหลุมศพ เฝ้ากัน 24 ชั่วโมง ทั้งวันทั้งคืนไม่ให้คลาดสายตา เป็นเวลานับเดือน ๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าศพในหลุมที่ฝังไว้นั้นเน่าสลายไปหมดแล้ว เพราะกลัวว่าศพอาจคืนชีพเป็นซอมบี้กลับขึ้นมาใหม่นั่นเอง
ในพิธีฝังศพ ของผู้มีเงินหน่อย จะต้องนำสิ่งของต่าง ๆ เช่นลูกปัดหินหลากสี ด้ายสีต่าง ๆ หลายหลอด พร้อมกับเข็มเย็บผ้าหลายโหล และเมล็ดพืชเล็ก ๆ บางชนิดอีกหลายร้อยหลายพันเม็ดใส่ไว้ในโลงศพของผู้ตายด้วย สิ่งของต่าง ๆ ดังกล่าวจะต้องผ่านพิธีการปลุกเสกลงของเสียก่อนโดยผู้ทรงคุณทางไสยขาว (white magic ) วิชาลึกลับใช้เวทมนต์ในทางที่ดีทำเครื่องรางของขลังป้องกันภัยอันตรายหรือ ปลุกเสกเมตรามหานิยมฯลฯก่อนการปิดปากโลงศพ และฝังกลบไว้ในป่าช้า เชื่อกันว่า ถ้าศพคืนชีพขึ้นมามันจะไม่ลุกออกมาจากโลง เพราะมัวแต่เล่นสิ่งของเหล่านั้นจนเพลินนั้นเอง
บางครั้งมีการใส่มีด ที่ลงของลงคาถาไว้ในโลงด้วยหลายเล่ม เพื่อว่าศพคืนชีพเกิดเซ็งขึ้นมาเพราะออกจากโลงไม่ได้ จะได้ฆ่าตัวตายเป็นครั้งที่สอง นอนตายอย่างสงบอยู่ในโลงนั้น พิธีกรรมที่หนักข้อขึ้นไปอีกก็ยังมี กล่าวคือ ก่อนปิดฝาโลง จะจัดการตัดคอศพแยกใส่***บฝังต่างหาก หรือไม่ก็เอหมุดลงคาถาตอกหน้าอกฝังไว้กับโลงเพื่อป้องกันศพคืนชีพเป็นซอมบี้ พวกไฮติไม่นิยมการเผาศพ แต่ก็มีการเผาศพอยู่เหมือนกัน เชื่อว่าการเผาศพมิได้ช่วยป้องกันซอมบี้แต่อย่างใด เพราะมีเรื่องเล่ากันว่า คนตายที่ถูกเผาไปแล้ว บางทียังกลายเป็นซอมบี้ได้ ขณะกำลังเผา ๆ อยู่ดันลุกพรวดพราดออกมาจากโลงก็มี ไอ้ตัวซอมบี้แบบนี้น่ากลัวน่าสยดสยองกว่าซอมบี้ธรรมดา ร่างกายมันดำไหม้เฟอะ เป็นศพพิการแต่ยังเดินได้
พวกหมอผีวูดู หรือ พวกจอมคาถาอาคมแห่งวูดู บางคนมีลูกสมุน- ซอมบี้ เป็นกองทัพเลยก็มี นับว่าเป็นทาสผีดิบที่สัตย์ซื่อมาก เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับซอมบี้มีปรากฏอยู่ในบันทึกของชาวตะวันตกที่เดินทางไปอยู่ในแถบไฮติ นับตั้งแต่สมัย ล่าอาณานิคมโน้น วิลเลียม ซีบรุ๊ก ผู้จัดการ ฝ่ายผลิตและส่งออกของบริษัท ผลิตน้ำตาลจากอ้อย (Hailian American Sugar Corporation" เคยเขียนบันทึกไว้ว่า
"..มีพวกกรรมกรไร่อ้อยหลาย ร้อยคนเป็นคนงานอยู่ในความดูแลของหมอผีวูดู ซึ่งทำหน้าที่คุมคนงานและจัดหาคนงานมาเข้าทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เหมือนมนุษย์จักรกล.. มีอยู่หลายสิบคนที่มีพวกญาติพี่น้องมาขอตัวกลับเพื่อนำไปฆ่าให้ตายเป็นครั้ง ที่สอง .. ทำให้เกิดปัญหามาก เพราะพวกญาติพี่น้องมาพบว่า คนงานบางคนเป็นญาติหรือ คนที่เข่ารู้จักดีซึ่งตายไปแล้ว และกลายเป็นซอมบี้อยู่ในอาณัติคาถาของหมอผีวูดู ใช่ให้มาทำงานเป็นทาสอยู่ในไร่อ้อย…"
ซอมบี้คือศพเดินได้จริงหรือ !?
ถ้า เราสังเกตพวกซอมบี้ จะพบว่า พวกซอมบี้มักจะมีท่าทางการเดินเหินไม่เหมือนคนธรรมดา การเดินของซอมบี้จะโยกเยกตัวไปมามากกว่าคนธรรมดา คล้ายกับว่ามันเป็นเครื่องจักรกลที่เดินได้ มันมีสายตาที่เหม่อลอย ดวงตา ที่ปราศจากแวดของชีวิต และยังกล่าวกันว่า ซอมบี้มีเสียงหายใจที่ดัง และมีจังหวะการสูดลมหายใจเข้าออกข้าเร็วต่างกับคนธรรมดา และสูญเสียความทรงจำ
ซอมบี้ (zombie) เป็นคำเรียกในการปลุกชีพของผู้ที่ตายไปแล้วนั้น เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งความเชื่อนี้ถูกสร้างขึ้นมาในชนเผ่ามายา ด้วยการทำนำยาพิเศษจากสมุนไพรจำนวนมากพร้อมมนต์ดำ ในการทำให้ซากศพเดินเหินเช่นคนปกติได้
ในภาพยนตร์และเกม ซอมบี้เป็นปิศาจเดินได้ มีลักษณะการเคลื่อนที่ช้า โดยแบ่งประเภทย่อยเป็น สิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้ว หรือ สิ่งที่ถูกดัดแปลง เป็นรูปแบบเฉพราะสามารถจัดการได้ด้วยการตัดศีรษะเพราะเชื่อว่าสมองยังคงทำ งานอยู่แต่ไม่สมบูรณ์นัก
ซอมบี้ที่ตายไปแล้วเป็นซอมบี้ที่เกิดจากเวทมนตร์ดำ มักจะไม่ทำร้ายผู้คน เว้นแต่ จะเป็นซอมบี้ที่ถูกปลุกจาก พวกหมอผีหรื่อ พวกลัทธินอกรีต มักจะมีนิสัยดุร้าย ชอบกินพวกซากคนตายตามสุสาน ซากสัตว์ต่างๆ หรือแม้แต่คนเป็นก็ย่อมได้ ซอบี้พวกนี้ มีลักษณะผอมโซ เคลื่อนที่ช้า แต่ บางพวก เช่น ซอมบี้ที่มีชื่อว่า นาคเซเร่อร์ (Nachzehrer) จะมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว
ซอมบี้ที่ถูกดัดแปลงเป็นซอมบี้ที่เกิดจาก พวก นักวิทยาศาสตร์ที่ ทดลองเกี่ยวกับชีวเคมี ส่วนใหญ่คือ พวกแฟรงเก้นสไตน์ นั่นเอง แต่ที่ปรากฏในเกม หรือ ภาพยนตร์ มักจะเป็นซอมบี้ที่เกิดจากการทดลองไวรัสปรสิต มีการเคลื่อนไหว่ เชื้องช้า(เพราะ เป็นคนที่ตายไปแล้ว เลือดจะแข็งตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก)เมื่อใดที่ซอมบี้พวกนี้ กัด หรือ ข่วน มนุษย์ ในไม่ช้า คนๆนั้นก้จะกลายเป็น ซอมบี้เช่นเดียวกัน ซอมบี้พวกนี้ลักษณะเป็นคนหน้าซีด ตาขาว มีฟันที่ไม่ตรงกัน และมีฟันที่เหลือง มีเลือดชุ่มตัว น่าสยดสยอง มีจุดอ่อนที่หัว เพราะซอมบี้พวกนี้ มักถูกไวรัสควบคุมที่สมอง ถ้าใช้อาวุธคม๐ พวกขวาน หรือ ดาบ ฟันเข้า จะหยุดการทำงานของซอมบี้ ส่วนภาพยนตร์ที่โด่งดังที่ทุกคนรู้จักซอมบี้ในทุก ๆ แห่ง คงหนีไม่พ้น หนังเรื่อง Resident Evil (ผีชีวะ) ทั้ง 3 ภาค ซึ่งดัดแปลงมาจากเกม Resident Evil มาทำเป็นภาพยนตร์ นั่นเอง
แล้วในเลโก้ละซอมบี้เหล่านี้จะเข้าไปในใจคอเลโก้ได้จริงรึป่าวหรือเขาเป็นเพียงตัวประกอบเท่านั้น
อันนี้รูปแถมถ้านางพยาบาลก่อนหน้านี้โดนกลายเป็นซอมบี้ละ
เปิดซองมาจะพบว่ามีชิ้นส่วนทั้งหมด 6 ชิ้นด้วยกันนะครับ
1.หัวของ Minifig ของ Zombie
2.ตัวของ Minifig ของ Zombie
3.ส่วนขา Minifig ของ Zombie
4.น่องไก่
5.จอบสีดำ
6.ฐานรองสีดำ
ตามรูปเลยครับ
ด้านหน้า
ด้านหลัง
ด้านข้าง